นมปลอม เต้านมเทียม เสื้อชั้นในสำหรับผู้ที่ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ซิลิโคนหลังผ่าตัด ซิลิโคนเสริมหน้าอก คุณภาพสูง สัมผัสเหมือนจริง

วิธีวัดขนาดบรา

เคล็ดลับเพื่ออกสวย - การใส่บราให้ถูกขนาด - วิธีวัดขนาดบรา   

 

  

คุณเคยมีปัญหาอย่างนี้ไหม?

1. เมื่อยหลัง เมื่อยไหล่ เมื่อยคอ
2. เป็นรอยแดงๆ จากการกดทับของเสื้อชั้นใน สายหรือแถบเสื้อในกดเนื้อเป็นรอยบุ๋มขณะใส่ โครงเหล็ก/ลวด ใต้บรา บีบรัดและกดทับเนื้อหน้าอก พอถอดออกแล้วเห็นเป็นรอยแดง
3. เป็นจ้ำ เป็นผื่นแดง ผื่นคัน ผดหรือสิวบริเวณที่เสื้อชั้นในสวมทับ
4. เนื้อหน้าอก (นม) ล้นเต้า(Cup) เสื้อในออกมา (กรณีที่ใส่บราธรรมดา ไม่ใช่ Push- Up Bra หรือเสื้อชั้นในแบบ Demibra หรือบิกินี่ เน้นการปกปิดที่น้อยที่สุดทำให้มันดูล้นๆ )
5. เสื้อชั้นในเหี่ยวๆ บุ๋ม หรือมีเนื้อที่เหลือระหว่างเสื้อชั้นใน กับเนื้อหน้าอก
6. เจ็บหน้าอก เวลาออกกำลังกาย เจ็บที่เนื้อ ผิวหนัง ไม่ใช่ที่อวัยวะภายใน เช่นกระดูก กระบังลม หัวใจ ปอด


ถ้าตอบว่าใช่ 1 ใน 6 ข้อข้างต้น แสดงว่า บราตัวนั้นๆ อาจไม่ใช่ขนาดที่เหมาะสมสำหรับคุณ

วิธีวัดขนาดบราที่ถูกต้อง

บราเซียร์ หรือเสื้อชั้นในนั้น มีไว้เพื่อพยุงหน้าอก ให้ได้รูปทรงที่ดูดี เสริมบุคคลิก ป้องกันการหย่อนคล้อย แต่ถ้าหากคุณเลือกขนาดบราที่ไม่เหมาะสมกับคุณแล้ว ปัญหาปวดเมื่อย ผดผื่น ที่กล่าวมาข้างต้นก็อาจเกิดขึ้น หรือถ้าใส่บราที่หลวมเกินไป มันก็ไม่สามารถช่วยพยุงทรงให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมได้ แทนที่จะเต่งตึง กลับทำให้เหี่ยวห้อยได้ ฉะนั้นมาหาขนาดบราที่เหมาะกับคุณกันเถอะ

1. วัดรอบตัว การวัดรอบตัวทำได้ 2 วิธี ซึ่งควรจะวัดทั้ง 2 แบบ แล้วเปรียบเทียบกัน ถ้าวัดถูกต้อง ค่าที่ได้จะต้องเท่ากัน

แบบที่1 ใช้สายวัด วัดรอบลำตัวเหนือหน้าอก รอดใต้วงแขน วัดเป็นนิ้ว ถ้าได้เลขคี่ ให้ปัดขึ้นเป็นเลขคู่ เช่น 31 นิ้ว ปัดเป็น 32 นิ้ว ถ้าได้เลขคู่ ก็ใช้เลขนั้นได้เลย เช่น วัดได้ 32 นิ้ว ลำตัวของคุณคือ 32

แบบที่ 2 ใช้สายวัด วัดรอบลำตัว ใต้หน้าอก (แบบนี้คนไทยนิยมวัดกัน) วัดได้เท่าไหร่ บวกเพิ่มเข้าไปอีก 5 นิ้ว เช่น วัดได้ 27 นิ้ว บวก 5 ค่าลำตัวของคุณคือ 32 ถ้าบวกออกมาได้เลขคี่ ให้ปัดขึ้นเป็นเลขคู่

*การวัดค่าลำตัว ควรวัดแบบแนบๆ แน่นๆ ติดลำตัว ไม่ต้องหายใจเข้าให้ตัวพองๆ แล้วค่อยวัดเดี๋ยวจะได้ค่าเพี๊ยน

2. วัดรอบอก การวัดรอบอก ใช้สายวัดวัดรอบจุดที่นูนที่สุดของหน้าอกคุณ แต่คราวนี้ให้วัดหลวมๆ หายใจปกติ วัดเป็นนิ้ว

3. หาขนาดเต้า หรือ Cup ด้วยการนำ รอบอก(นิ้ว) - รอบลำตัว(นิ้ว) หรือนำผลที่ได้จากข้อ 2 หักลบด้วยผลที่ได้จากข้อ1 ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นค่า CUP ของเสื้อใน A B C D ตามตาราง


ผลต่าง (นิ้ว/inch)    CUP
1. นิ้วหรือน้อยกว่า                
A
2. นิ้ว                                 B
3. นิ้ว                                
C
4. นิ้ว                                
D

ตัวอย่าง รอบอก 33 นิ้ว ลบ ลำตัว 32 นิ้ว ขนาดคัพ A เวลาไปซื้อชุดชั้นใน = 32/A
เสื้อชั้นในบางยี่ห้อ ใช้เลขลำตัวหน่วยเป็น เซ็นติเมตร ลองเทียงค่าลำตัวจากนิ้วเป็น เซ็นติเมตรได้จากตารางด้านล่าง

  นิ้ว              เซ็นติเมตร
  30                     65
  32                     70
  34                     75
  36                     80
  38                     85

วิธีการวัดนี้เป็นวิธีสากล ที่เขาใช้วัดขนาดบรากัน แต่ก็พบว่าผู้หญิงๆ หลายๆ คนวัดแล้วไม่ได้ค่าคัพตรงกับไซส์เสื้อชั้นในที่ใส่อยู่จริง เช่น ปกติใส่ คัพ C แต่พอวัดด้วยวิธีนี้ ต้องใส่คัพ A สรีระของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป และเสื้อชั้นในสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเป็น Push-Up Bra หรือบราดันทรงที่มีโครงลวด มีแผ่นฟองน้ำเสริมทรง มีแผ่นดันทรงวางไว้ใต้หน้าอกอีกที ทำให้ผู้หญิงมักจะต้องใส่เสื้อชั้นในขนาดคัพใหญ่กว่าปกติ 1 ไซส์ เพราะมีอุปกรณ์ส่งเสริมเหล่านี้เข้ามาช่วยเสริมให้ดูอวบอิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้นถ้าได้ขนาดคัพที่ไม่ตรงกับที่ใส่อยู่จริง เราก็ใช้ค่ารอบลำตัว ไปใช้ซื้อเสื้อชั้นใน ส่วนจะใส่คัพอะไรนั้น ดันมาก-ดันน้อย ต้องไปลองกันเอาเอง

4. ขนาดคัพเท่ากัน ขนาดลำตัวต่างกัน เลือกใส่ตามความเหมาะสมยืดหยุ่นได้

เสื้อชั้นในมีขายหลากหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อ ก็มีรูปแบบ และทรงที่แตกต่างกัน จึงไม่แปลกหากคุณใส่บรายี่ห้อหนึ่งขนาด 34/75 B แต่เมื่อไปซื้ออีกยี่ห้อ กลับใส่ 36/80 A แล้วพอดีกว่า เพราะ ขนาดเต้า/cup ของเสื้อในขนาด 36/80 A ใหญ่เท่ากับเสื้อในขนาด 34/75 B และยังเท่ากับ 32/70 C ด้วย ขนาดคัพเท่ากัน แต่ขนาดลำตัวต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของเนื้อผ้า และรูปทรงการตัดเย็บของแต่ละยี่ห้อ ดังนั้นการซื้อเสื้อชั้นในควรลองสวมดูก่อนทุกครั้ง ถ้าไม่พอดี ก็ลองเลือกขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือเล็กลง (ดูตารางเทียบไซส์คัพที่เท่ากันได้ด้านล่าง) มาลองดูจนเป็นที่พอใจ อย่าไปยืดกับไซส์เดิมๆ สำคัญที่ ใส่แล้วคัพของเสื้อในต้องแนบสนิทกับเนื้อหน้าอกของเรา ไม่เหลือช่องว่าง ถ้าเหลือแสดงว่าคัพใหญ่เกินไป แต่ก็ไม่เล็กแน่นเสียจนล้น (ยกเว้นตั้งใจดัน) ส่วนขนาดลำตัวสวมแล้วควรพอดี ไม่แน่นจนรู้สึกอึดอัด และถ้าลองยกแขนทั้งสองขึ้นบิดซ้ายบิดขวา แถบลำตัวเสื้อชั้นในต้องไม่ถลนขึ้นมา ถ้าใช่ลองเลื่อนตะขอเข้าอีกนิด หรืออาจเปลี่ยนตัวใหม่ที่มีขนาดลำตัวเล็กลง

ตารางเปรียบเทียบขนาดคัพ(ปริมาตร) ที่เท่ากัน แต่ลำตัวต่างกัน (ดูตามแนวดิ่ง)

 32/70 A   34/75 A   36/80 A   38/85 A   38/85 B
 30/65 B   32/70 B   34/75 B   36/80 B  
36/80 C
 30/65 C   32/70 C   34/75 C   34/75 D

5. ขนาดหน้าอกเราเปลี่ยนแปลงได้ ตามน้ำหนัก และฮอร์โมน

เช่นถ้าน้ำหนักขึ้น หน้าอกก็ใหญ่ขึ้น เช่นเดียวกับน้ำหนักลง หน้าอกก็ลดลงได้ด้วยเช่นกัน จะมากหรือน้อยแล้วแต่คน นอกจากนี้ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงก็มีผลต่อขนาดของหน้าอกด้วย เช่น ผู้หญิงหลายๆ คน จะตึงคัดเต้านม หรือเจ็บหน้าอกและขนาดหน้าอกขยายขึ้นเล็กน้อยช่วงก่อนมีประจำเดือน-ช่วงมีประจำเดือน รวมถึงช่วงตั้งครรภ์ด้วย สำหรับกรณีที่เจ็บและคัดหน้าอกมาก และหน้าอกขยายค่อนข้างมากในช่วงเวลาดังกล่าว อาจหาซื้อชุดชั้นในที่เนื้อผ้ายืดหยุ่นได้มาก เช่นประเภท Convertible Bra, Sport Bra หรือซื้อเสื้อชั้นในขนาดคัพใหญ่ขึ้น เพื่อใส่ช่วงวันนั้นๆ เพื่อความสบายตัว ไม่จำเป็นต้องยืดติดว่าคุณจะต้องใส่เสื้อชั้นในขนาดเดิมขนาดเดียวไปตลอด

6. ควรวัดขนาดหน้าอกตัวเอง ทุกๆ 1-2 ปี และ/หรือ คอยสังเกตว่ารู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวเวลาสวมใส่เสื้อชั้นในหรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกให้คุณเปลี่ยนขนาด เปลี่ยนแบบ เปลี่ยนยี่ห้อเสื้อชั้นในได้แล้ว

   เสื้อชั้นในควรซักมือ ตากในที่ร่มลมโกรก หรือแดดอ่อนๆ ส่วนกางเกงชั้นในใส่แล้วซักอย่าหมักหมม เดี๋ยวเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียจะมาเพาะพันธุ์ ซักมือหรือเครื่อง แล้วตากแดดฆ่าเชื้อโรคจะดีกว่า

ขอบคุณที่มา นิตยสารเพื่อสุขภาพผู้หญิง